ทำไมความรุนแรงทางเพศที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง ผู้หญิงกลับเป็นฝ่ายถูกตั้งคำถาม

25 พฤศจิกายน 2559

ที่มา https://ilaw.or.th/node/4341

จากข่าวข่มขืนนักศึกษาธรรมศาสตร์ นำมาสู่การวิเคราะห์ปัญหาความรุนแรงทางเพศว่า ความรุนแรงเรื่องเพศต่อผู้หญิง ถูกล้อมด้วย ‘อคติ’ ทางเพศของสังคม ไม่ใช่ ‘ปัญหาส่วนตัว’  แต่ เป็นปัญหา ‘โครงสร้างของรัฐ’ และชวนคิดถึงหญิงที่พิการ หรือหญิงเป็นแรงงานข้ามชาติ ที่จะยิ่งพบอุปสรรคในกระบวนการยุติธรรมของไทย

วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กสากล โดยมี “ริ้บบิ้นขาว” เป็นสัญลักษณ์ที่ทุกคนสามารถนำมาติดที่เสื้อ แสดงการ ‘ไม่ยอมรับ ไม่นิ่งเฉย ไม่กระทำความรุนแรงต่อสตรี’ ทุกรูปแบบ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 สภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ ActionAid Thailand  จัดงานเสวนา "มหาวิทยาลัยกับการยุติความรุนแรง" ที่ห้องเธียร์เตอร์ หอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เวลา 13.30 - 16.30 น.

Read more: ทำไมความรุนแรงทางเพศที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง ผู้หญิงกลับเป็นฝ่ายถูกตั้งคำถาม

วันแม่ของ "แม่วัยใส" ความฝันที่เหลืออยู่ของคุณแม่วัย 14 ปี

12 สิงหาคม 2559

ที่มา http://news.thaipbs.or.th/content/254856

เมื่อถึง "วันแม่" เรื่องราวของแม่และลูกถูกนำเสนออย่างหลากหลาย วันแม่ของแต่ละครอบครัวล้วนแตกต่างกันไป "ไทยพีบีเอสออนไลน์" คุยกับ "แม่วัยใส" หรือวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมซึ่งถ่ายทอดความรู้สึกของเด็กหญิงคนหนึ่งที่เป็นคุณแม่ในวัยเพียง 14 ปี

 

"มีความสุขที่ได้เห็นหน้าเขา ได้มองหน้าเขา ห่างกันแป๊บเดียวก็คิดถึง หนูรักเขามาก" ด.ญ.ลานดาว (นามสมมุติ) พูดถึงลูกสาววัย 1 เดือน 12 วันอย่างมีความสุข แต่ก็เป็นความสุขที่มาพร้อมกับความเหน็ดเหนื่อย เพราะการเป็นแม่คนในวัย 14 ปีนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย

ลานดาวเป็นแม่วัยใสมือใหม่ที่ยังคงต้องปรับตัวและเรียนรู้การดูแลทารกตลอดเวลา 

ย้อนไปเมื่อ 9 เดือนก่อน ลานดาววัย 14 ปี ตั้งครรภ์กับแฟนหนุ่มที่อายุมากกว่าเธอ 1 ปี จากการขาดความรู้เรื่องการคุมกำเนิด หลังรู้ว่าตั้งครรภ์ ครอบครัวของแฟนหนุ่มปฏิเสธความรับผิดชอบอย่างสิ้นเชิง รวมทั้งเสนอให้เธอยุติการตั้งครรภ์ แต่ลานดาวและแม่ของเธอไม่สามารถทำตามข้อเสนอนั้นได้

Read more: วันแม่ของ "แม่วัยใส" ความฝันที่เหลืออยู่ของคุณแม่วัย 14 ปี

คลอดแล้ว ! พรบ.ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

1 สิงหาคม 2559

http://www.goodlifeupdate.com/23092/healthy-body/disease/health-news/pregnant-teenage-555/

สังคมไทยในปัจจุบัน ปัญหาเรื่องการ ตั้งครรภ์ ก่อนวัยอันควรเรียกได้ว่า มีอัตราที่สูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องด้วยการคบเพื่อนต่างเพศที่ถือเป็นเรื่องปกติ มีอิสระในการใช้ชีวิตมากขึ้น มีความอยากรู้อยากลองสิ่งใหม่ๆ แต่ขาดการความรู้และความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษาอย่างจริงจัง

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2559 ถือได้ว่าเป็นวันแรกของการบังคับใช้ พรบ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ที่ออกมาเพื่อป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

นายแพทย์กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผอ.สำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กล่าวว่า จากข้อมูลพบว่าประเทศไทยจะมีเด็กเกิดใหม่ประมาณปีละ 700,000 คน ในจำนวนนี้มีเด็กที่เกิดจากแม่อายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวนประมาณ 120,000 คน และเด็กที่เกิดจากแม่อายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 3,500 คน มีความคาดหวังว่าหลังจากการบังคับใช้พรบ.ฉบับนี้ จะสามารถช่วยลดจำนวนเด็กที่เกิดจากพ่อแม่อายุต่ำกว่า 20 ปีลงได้ 75 %

Read more: คลอดแล้ว ! พรบ.ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

เรื่อง ‘เพศ’ ต้องพูด

9 กันยายน 2559

ที่มา http://www.hugmagazine.com/ColumDetail/tabid/82/articleType/ArticleView/articleId/5432/categoryId/36/---.aspx

     หลังจากฉบับก่อน เราได้เห็นผลที่เกิดขึ้นแล้วว่าการไม่คุยกันในเรื่องเพศ และมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องต่อเรื่องนี้ส่งผลอย่างไรกับผู้หญิงได้บ้าง และนอกจากตัวเองแล้ว สังคมโดยรวมก็มีส่วนสำคัญต่อการสร้างสุขภาพทางเพศที่ดีด้วย ฉบับนี้เรายังอยู่กับคุณจิตติมา ภาณุเตชะ เพื่อพูดคุยและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเพศกับผู้หญิงและสังคมยุคใหม่ ให้ก้าวผ่านกรอบที่เคยมีค่ะ

ความสำคัญของการออกแบบระบบบริการสังคม

    ในประเทศต่างๆ ที่มีความละเอียดอ่อนต่อเรื่องนี้ ห้องน้ำ 10 ห้องเขาจะเป็นห้องน้ำผู้หญิงสัก 7 – 8 ห้อง ห้องน้ำผู้ชายสัก 2 ห้อง เพราะอะไร ถ้าเราไปสังเกตทุกที่คิวห้องน้ำผู้หญิงยาวมาก แต่ห้องน้ำผู้ชายจะว่าง 
    นี่คือการออกแบบระบบบริการสังคมที่มีความละเอียดอ่อนต่อความเป็นเพศ ถ้ารัฐบาลไม่เห็น เราก็ต้องชี้ให้เห็น เพราะมันจะกลับมาสู่สุขภาพของผู้หญิง เช่น ห้องน้ำในบริษัทต่างๆ จะแบ่งสัดส่วนเรื่องนี้อย่างไร เป็นต้น
    ท้ายที่สุดวิธีการมองต่ออาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศของตัวเอง ผู้หญิงก็ต้องเข้าใจมันพอ เฮ้ย สังคมบอกว่า หมอต้องด่าฉันแน่เลย ฉันไปทำอะไรไม่ดีไหม แต่ความจริงก็คือท่อปัสสาวะอักเสบนะ ถ้าไปหาหมอตั้งแต่ต้นๆ กินยาฆ่าเชื้อก็จบ 
    การจะกล้าหรือไม่กล้าไปหาหมอ ก็ต้องขึ้นอยู่กับเรื่องที่เราถูกปลูกฝังให้รู้สึกมั่นใจ และระบบบริการสุขภาพทางเพศเข้าใจความกลัว ความอายของผู้หญิงตรงนี้ไหม 

Read more: เรื่อง ‘เพศ’ ต้องพูด

รายงานพิเศษ: ‘Hate Crime’ ทอม-เหยื่อแห่งความเกลียดชัง ในสังคมนิยมความเป็นชาย

30 กรกฎาคม 2559

ที่มา https://prachatai.com/journal/2016/07/67164

ทอมเป้าอาชญากรรมจากความเกลียดชัง 10 ปีเกิดการฆาตกรรมทอมอย่างรุนแรง 11 ราย เชื่อยังมีการทำร้ายอีกมากที่ถูกปกปิด นักวิชาการชี้อคติและความเกลียดชังเป็นผลจากการนิยมความเป็นชายในสังคม มองทอมเป็นการคุกคามความเป็นชาย

ภาพจาก http://doublethink.us.com/paala/2012/11/27/hate-crime-in-alabama-stand-up-for-love/

คดีข่มขืนอุกฉกรรจ์อย่างคดี ‘น้องแก้ม’ จนถึงกรณี ‘ครูอิ๋ว’ สร้างความสะเทือนใจและความโกรธแค้นต่อสังคมโดยรวม เกิดกระแส ‘ข่มขืน=ประหาร’ ซึ่งมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ภายใต้เงามืดของความรุนแรงที่เกิดกับผู้หญิงนั้น จำนวนมากถูกซ่อนเร้นจากการรับรู้ การข่มขืนที่ปรากฏเป็นข่าวก็แค่ยอดภูเขาน้ำแข็งยอดเล็กๆ ที่ตัวภูเขาน้ำแข็งขนาดมหึมาถูกปกปิดด้วยผิวน้ำจากความพิกลพิการในสังคมไทยที่มีต่อผู้หญิง

และเมื่อยิ่งเป็นผู้ที่มีเพศภาวะเป็นหญิง แต่มีอัตลักษณ์และเพศวิถีเป็น ‘ทอม’ ด้วยแล้ว ความรุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศ และการข่มขืน ก็ดูเหมือนถูกปิดทับและไร้เสียงหนักข้อขึ้นไปอีก ไม่เพียงเท่านั้น ความรุนแรงหรือการล่วงละเมิดทางเพศต่อทอมกลับได้รับเสียงเชียร์หรือเห็นด้วยจากผู้ชาย

Read more: รายงานพิเศษ: ‘Hate Crime’ ทอม-เหยื่อแห่งความเกลียดชัง ในสังคมนิยมความเป็นชาย