วัยรุ่นอยากได้ “ความรัก-เวลา” จากครอบครัว เผยครอบครัวไร้ลูกเพิ่มขึ้น 3 เท่า

10 เมษายน 2560

ที่มา http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9600000036620

ผลวิจัยชี้ “ครอบครัวไทย” ยังอยู่ในระดับอบอุ่น - เข้มแข็ง พบ “เยาวชน” ต้องการ “ความรัก” จากครอบครัวมากสุด ตามด้วยเวลาทำกิจกรรมร่วมกัน ไม่ทะเลาะ ใช้ความรุนแรง เผย รูปแบบครอบครัวแบบ 3 รุ่นพบมากเป็นอันดับ 1 เบียดครอบครัวพ่อแม่ลูกลงมาอยู่อันดับ 2 อึ้ง! ครอบครัวไร้ลูกเพิ่มขึ้น 3 เท่า โดยเฉพาะเขตชนบท
       
       วันนี้ (10 เม.ย.) ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNFPA Thailand) และภาคีเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะกลุ่มเยาวชน จัดแถลงข่าว “คลี่ครอบครัวไทย 4.0” โดย นางเพ็ญพรรณ จิตตะเสนีย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวว่า ศูนย์วิจัยด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สสส. ยูเอ็นเอฟพีเอ และภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ สำรวจความคิดเห็นจากตัวแทนเยาวชนทั่วประเทศ อายุระหว่าง 15 - 24 ปี จำนวน 824 คน ในเดือน มี.ค. 2560 พบว่า รูปแบบครอบครัวไทย ส่วนใหญ่ 59% เป็นครอบครัวพ่อ แม่ ลูก ตามด้วยครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว 16% ครอบครัว 3 รุ่น 15% ครอบครัวข้ามรุ่น 5% ที่เหลือคืออยู่คนเดียว สามี - ภรรยาที่ไม่มีลูก ครอบครัวที่ไม่ใช่ญาติ เป็นต้น

Read more: วัยรุ่นอยากได้ “ความรัก-เวลา” จากครอบครัว เผยครอบครัวไร้ลูกเพิ่มขึ้น 3 เท่า

เตรียมพร้อม! ‘กะเทยเกณฑ์ทหาร’ วอนสังคมอย่ามองเป็นเรื่องตลก

วันที่ 29 มีนาคม 2560

ที่มา https://www.matichon.co.th/news/512143

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ที่โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยสำนักคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ และภาคเครือข่าย จัดเสวนา “จิบกาแฟ นั่งคุย กะเทยเกณฑ์ทหาร ผ่านสื่อ” เนื่องด้วยทุกวันที่ 1-12 เมษายนของทุกปี เป็นช่วงการตรวจเลือกทหารกองประจำการหรือเรียกว่าการเกณฑ์ทหาร

Read more: เตรียมพร้อม! ‘กะเทยเกณฑ์ทหาร’ วอนสังคมอย่ามองเป็นเรื่องตลก

เผยผลสำรวจ ผู้หญิงนั่งเมล์เสี่ยงถูกคุกคาม

9 มีนาคม 2560

ที่มาhttps://www.matichonweekly.com/hot-news/article_27575

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ที่บริเวณเกาะพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง ร่วมกับแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ชมรมพนักงานสอบสวนหญิง และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันสตรีสากล ประจำปี 2560 ภายใต้แคมเปญ “เมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง” (Safe Cities for Women) ชูประเด็นหยุดการคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะ

Read more: เผยผลสำรวจ ผู้หญิงนั่งเมล์เสี่ยงถูกคุกคาม

‘กฎหมายรับรองเพศ’ เพศของเรา...ทำไมต้องให้รัฐรับรอง?

14 มีนาคม 2560

ที่มา https://prachatai.com/journal/2017/03/70573

พม.ศึกษาร่างกฎหมายรับรองเพศ หวังให้คนหลากหลายทางเพศได้รับการคุ้มครองสิทธิ ตั้งคณะกรรมการวินิจฉัย ด้านนักวิชาการระบุควรมีกฎหมายรับรองสิทธิมากกว่ารับรองเพศ ตั้งคำถามกฎหมายนี้จะช่วยให้คนหลากหลายทางเพศเข้าถึงสิทธิต่างๆ อย่างครอบคลุมหรือไม่ ชี้ประเด็นซ้ำว่า จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิชุดหนึ่งมารับรองการที่บุคคลคนหนึ่งอยากจะมีเพศไหน

ปัจจุบัน กลุ่มคนหลากหลายทางเพศกล้าที่จะเปิดเผยตัวตนมากขึ้น ขณะที่ผู้คนในสังคมก็เรียนรู้ที่จะยอมรับ เข้าใจ และอดทนต่อความแตกต่างหลากหลายมากขึ้นเช่นกัน แต่ก็ไม่ได้แปลว่าการยอมรับหรืออดทนวิ่งไปในทิศทางเดียวกันกับสิทธิและโอกาส

กลุ่มคนหลากหลายทางเพศในสังคมไทยยังคงถูกเลือกปฏิบัติ ถูกกีดกัน และเข้าไม่ถึงสิทธิหลายประการ องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคม และนักวิชาการที่ติดตามประเด็นนี้ต่างพยายามเคลื่อนไหวผลักดันกฎหมายเพื่อรองรับสิทธิของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน

Read more: ‘กฎหมายรับรองเพศ’ เพศของเรา...ทำไมต้องให้รัฐรับรอง?

เปิดสถิติ ‘ผู้หญิง’ ถูกคุมคามทางเพศบนระบบขนส่ง ทั้งลวนลาม อนาจาร ใช้อวัยวะถูไถ โชว์ของลับ

8 มีนาคม 2560

ที่มา https://www.matichon.co.th/news/488616

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ที่บริเวณเกาะพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง ร่วมกับแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ชมรมพนักงานสอบสวนหญิง และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันสตรีสากล ประจำปี 2560 ภายใต้แคมเปญ “เมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง” (Safe Cities for Women) ชูประเด็นหยุดการคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะ

Read more: เปิดสถิติ ‘ผู้หญิง’ ถูกคุมคามทางเพศบนระบบขนส่ง ทั้งลวนลาม อนาจาร ใช้อวัยวะถูไถ โชว์ของลับ