Pro-Voice 3

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน 2559  

ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1

หลักการและเหตุผล

วันที่ 28 กันยายนของทุกปี เป็นวันรณรงค์เพื่อเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย (Global Day of Action for Access to Safe and Legal Abortion) โดยมีการจัดกิจกรรมรณรงค์พร้อมกันในหลายประเทศทั่วโลก1 การรณรงค์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการสร้างความเข้าใจกับสาธารณชนและผู้กาหนดนโยบาย เกี่ยวกับสภาพปัญหาและทางออกในเรื่องการเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย เพื่อคุ้มครองชีวิตของผู้หญิงถึงกว่า 21.6 ล้านคนทั่วโลก ที่ยังต้องเสี่ยงอันตรายจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยในแต่ละปี และเพื่อขจัดปัญหาที่มีผู้หญิงจานวนถึง 47,000 คนทั่วโลกต้องเสียชีวิตลงทุกปี จากสาเหตุการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย2

แม้ว่าองค์การอนามัยโลกจะประกาศให้การเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยเป็นนโยบายด้านสุขภาพที่สาคัญในระดับโลก แต่ในประเทศไทย การตั้งครรภ์ไม่พร้อมของผู้หญิง และการแสวงหาช่องทางเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ยังเป็นสิ่งที่ถูกสังคมตีตรา เพราะถูกนาไปเชื่อมโยงกับการละเมิดบรรทัดฐานเรื่องเพศสาหรับผู้หญิงของสังคมไทย หรือถูกนาไปเชื่อมโยงกับประเด็นทางศีลธรรม โดยมองข้ามเหตุผลความจาเป็น ตลอดจนผลกระทบด้านสุขภาพและด้านสังคม ผลที่ตามมาคือ สังคมไทยยังขาดการยอมรับ ขาดการเผยแพร่ข้อมูล และยังมีข้อจากัดในการให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย ผู้หญิงจานวนมากจึงยังเข้าไม่ถึงบริการ และยังต้องเสี่ยงอันตรายจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยต่อไป

จากสถานการณ์ดังกล่าว สมาคมเพศวิถีศึกษา พร้อมด้วยองค์กรภาคีเครือข่ายที่ทางานขับเคลื่อนในประเด็นสุขภาพผู้หญิง การลดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และการส่งเสริมสิทธิและโอกาสการเข้าถึงการทาแท้งที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย จึงกาหนดจะจัดกิจกรรมเนื่องในวันรณรงค์เพื่อเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมายในครั้งนี้ขึ้น

วัตถุประสงค์

เปิดพื้นที่สื่อสารสังคมในประเด็นสิทธิการเข้าถึงการทาแท้งปลอดภัยและถูกกฎหมายในสังคมไทย โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย คือ
1) ส่งเสริมความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการทาแท้งที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย
2) ทาให้เรื่องสิทธิการเข้าถึงการทาแท้งที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย เป็นประเด็นที่สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างเป็นปกติธรรมดาในสังคม
3) ขับเคลื่อนให้การทาแท้งที่ปลอดภัยและถูกกฎหมายเป็นส่วนหนึ่งของชุดบริการสุขภาพพื้นฐานสาหรับผู้หญิง (Essential healthcare package for women)

วันที่ เวลา และสถานที่

วันศุกร์ 23 กันยายน 2559 เวลา 10.00 – 19.30 น. ที่ห้องอเนกประสงค์ (Multi-function Room) ชั้น 1 และลานด้านหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

กลุ่มเป้าหมาย

จานวน 200-300 คน ประกอบด้วย สมาชิกเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกสาหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม (เครือข่าย Choices), ผู้ปฏิบัติงานในโครงการเพื่อลดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในจังหวัดบูรณาการ 20 จังหวัด, ภาคีเครือข่ายแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ, ภาคีเครือข่ายแผนงานสุขภาวะผู้หญิง, สมาชิกเครือข่ายแพทย์ R-SA, นักกิจกรรมสังคมรุ่นใหม่ ผู้สนใจทั่วไป และสื่อมวลชน

แนวทางการจัดกิจกรรม

กิจกรรมภายในห้อง Multi-function Room เวลา 10.00-17.30 น. ประกอบด้วย

1. Workshop สร้างความเข้าใจประเด็นสิทธิการเข้าถึงการทาแท้งที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย และอัพเดทการเคลื่อนไหวในประเด็นดังกล่าวสาหรับผู้สนใจที่ลงทะเบียนล่วงหน้า
2. เวทีเสวนาที่เน้นการนาเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อประเด็นสิทธิการเข้าถึงการทาแท้งที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย
3. เวทีสานพลังสร้างเครือข่ายนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิการเข้าถึงการทาแท้งที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย
4. พื้นที่จัดนิทรรศการ และบูธกิจกรรมย่อยขององค์กรภาคีเครือข่าย 

กิจกรรมบริเวณลานหน้าหอศิลป์ เวลา 18.00-19.30 น. ประกอบด้วย การอ่านบทกวี ดนตรี และกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เพื่อสนับสนุนสิทธิการเข้าถึงการทาแท้งที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย

องค์กรร่วมจัด

1. สมาคมเพศวิถีศึกษา
2. เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกสาหรับผู้หญิงทีตั้งครรภ์ไม่พร้อม
3. องค์กร Path to Health
4. แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง
5. แผนงานสุขภาวะผู้หญิง สมาคมเพศวิถีศึกษา
6. องค์กร Women Help Women
7. องค์กร Women on Web
8. กลุ่มทาทาง
9. เครือข่ายแพทย์ R-SA


1 ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.september28.org/
2 ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก http://www.who.int/reproductivehealth/topics/unsafe_abortion/magnitude/en/
(สืบค้นเมื่อ 22/07/2015)

ภาพกิจกรรม